หลายคนคงเคยได้ยินเรื่อง ภาวะโลกร้อนซึ่ง มีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น การเผาไหม้เชื้อเพลิง อุตสาหกรรม สถานบริการ รวมถึงการเกษตรกรรม ส่งผลให้ทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาจนออกมาเป็นนโยบายสำคัญ ที่มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) โดย CBAM คือหนึ่งในมาตรการจาก คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ที่เร่งพลักดันให้บรรลุเป้าหมายในระยะยาว

1.มาตรการ CBAM คืออะไร

CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) คือการเก็บภาษีคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนสหภาพยุโรป เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง มีสินค้าเป้าหมาย 6 กลุ่มได้แก่ ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน

2. CBAM มีกลไกการทำงานยังไง?

2.1 บริษัทที่ผลิตสินค้าเป้าหมาย 6 กลุ่ม และต้องส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป จะต้องจ้างหน่วยงานเพื่อใบรับรอง CBAM Certificate หน่วยงานนั้นจะทำหน้าที่เหมือนสำนักงานบัญชี แต่แทนที่จะตรวจสอบงบการเงินของคุณ หน้าที่ของหน่วยงานคือวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากธุรกิจของคุณ

2.2 ขอบเขตของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่หน่วยงานรับรอง จะคำนวณเชิงปริมาณแบ่งออกเป็นสามระดับ (เรียกว่าขอบเขต) สำหรับ CBAM จะมีการวัดการปล่อยก๊าซขอบเขต 1 และ 2 เท่านั้น ในขณะที่ประเทศ/ภูมิภาคเศรษฐกิจอื่นๆ อาจรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขต 3 ด้วยเช่นกัน คำอธิบายโดยย่อของขอบเขตทั้ง 3 มีดังต่อไปนี้

  • 2.2.1 ขอบเขต 1 Direct Emissions
  • คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงจากกิจกรรมขององค์กรหรือภายใต้การควบคุมขององค์กร เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง สารทำความเย็น หม้อไอน้ำ เตาเผา การปล่อยก๊าซจากยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถตู้ รถบรรทุก ครอบคลุมจนถึงกระบวนการที่ปล่อยออกมาระหว่างกระบวนการทางอุตสาหกรรม และการผลิตในสถานที่ เช่น ควันโรงงาน สารเคมี
  • 2.2.2 ขอบเขต 2 Indirect Emissions
  • คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน ซึ่งเกิดขึ้นนอกสถานที่และถูกใช้โดยองค์กรของคุณ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในองค์กร ไอน้ำไฟฟ้า ความร้อน หรือการทำความเย็น
  • 2.2.3 ขอบเขต 3 Indirect value chain emissions
  • คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่อยู่เหนือการควบคุม นอกเหนือจากขอบเขต 1 และ 2 เกิดขึ้นจากแหล่งที่องค์กรไม่ได้เป็นเจ้าของ เช่น ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากวัตถุดิบที่ซื้อมาผลิต กระบวนการกำจัดของเสียที่ดำเนินงานโดยหน่วยงานอื่น ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้า

2.3 เมื่อบริษัทในสหภาพยุโรปนำเข้าสินค้าจากภายนอก พวกเขาจะต้องให้ผู้ส่งออกจัดเตรียม CBAM Certificate เพื่อใช้เป็นหลักฐานต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่พวกเขานำเข้า

2.4 หากการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงกว่ามาตรฐาน (ตามหน่วยงานกำกับดูแล) บริษัทผู้นำเข้าจะต้องซื้อ carbon credits เพื่อชดเชยส่วนต่างที่ปล่อยเกินมา เพราะนำเข้าสินค้าจากผู้ผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น carbon credits จึงเป็นวิธีหนึ่งในการผลักดันผู้นำเข้าให้กดดันผู้ผลิต ต้องผลิตสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันหากผู้ผลิตไม่รีบปรับตัวก็จะทำให้เสียโอกาสทางการค้าให้กับเจ้าอื่นที่มีความพร้อมมากกว่า

3. การเตรียมความพร้อมของไทยต่อ CBAM ที่จะเข้ามา

3.1 Carbon Footprint of Product

ปัจจุบันประเทศไทยมีความเตรียมพร้อม โดยออกเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: *CFP) สามารถนำไปปรับใช้กับการวัด Embedded Emission ของ CBAM เพราะ CPF จะครอบคลุมทั้ง 3 Scope ที่ GHG protocol กำหนดไว้ (ค่าใช้จ่ายในการทำ CPF จะอยู่ที่ 100,000-200,000 บาท) ขณะเดียวกันในอนาคต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) เร่งพัฒนาระบบทวนสอบค่า Embedded Emissions ตามมาตรฐาน EU ซึ่งคาดว่าจะออกมาในรูปแพลตฟอร์มดิจิทัล เพราะหากในประเทศไทยมีกระบวนการ CBAM Certificates ของตนเอง ผู้ส่งออกไทยจะสามารถเสียค่าคาร์บอนที่ต้นทางหรือในประเทศไทย แทนการที่ต้องไปเสียให้ต่างประเทศ *CPF คือปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมของธุรกิจที่คุณทำ ซึ่งวัดผลเชิงปริมาณออกมาเป็น กิโลกรัมหรือตัน

3.2 T-VERs

การเจรจาทำความตกลงกับสหภาพยุโรปให้ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้คาร์บอนเครดิตจาก โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VERs) เพื่อทดแทนหรือลดภาระการซื้อค่าคาร์บอน หรือ CBAM Certificate โดย TGO จะปรับปรุงมาตรฐานการรับรองของโครงการ T-VERs บางประการให้สอดคล้องกับมาตรการ CBAM มากขึ้น

4. SME ไทยต่อผลกระทบของ CBAM

สหภาพยุโรปเริ่มบังคับใช้ CBAM ในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 และจะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มกราคม 2569 กล่าวคือไทยมีระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 3 ปีแรก โดยยังไม่ต้องซื้อและส่งมอบ CBAM Certificate ซึ่งจะบังคับใช้ CBAM จริงในวันที่ 1 ม.ค. 2569 ดังนั้นระหว่างนี้ผู้ประกอบการควรต้องประเมินว่าต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเท่าไหร่จากมาตรการ CBAM

                ซึ่งหมายความว่าหากธุรกิจของคุณอยู่ใน 6 กลุ่มสินค้าเป้าหมายที่ต้องส่งออกไปยังสหภาพยุโรป จะได้รับผลกระทบทันที คุณอาจจะต้องลงทุนเพื่อให้ได้ CBAM Certificate ในอนาคตอันใกล้นี้ อย่างไรก็ตามผลกระทบในระยะยาวอาจมีมากกว่านั้น หากธุรกิจของคุณยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินมาตรฐานจะส่งผลให้ต้นทุนสินค้าของคุณมีราคาแพงขึ้น จนถึงจุดที่ผู้นำเข้าอาจไม่นำเข้าสินค้าของคุณต่อไป หากพวกเขาสามารถหาผู้ผลิตรายใหม่ที่สามารถทำได้ตามเกณฑ์

ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ใน 6 กลุ่มเป้าหมายก็ไม่ควรนึ่งนอนใจไป เพราะในอนาคตมีโอกาสที่จะขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมไปถึงประเทศอื่นก็ที่มีแนวโน้มที่จะออกมาตรการที่คล้ายกับ CBAM เช่นกัน เรียกได้ว่าใครตรียมตัวตอนนี้ได้เปรียบกว่าแน่นอน

5.แนวทางการปรับตัวสำหรับ SME ไทย

แม้ว่า CBAM และมาตรการอื่น จะเริ่มบังคับใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ แต่ทว่ายังคงมีเวลาให้ผู้ประกอบการปรับตัวอยู่บ้าง สิ่งสำคัญเลยคือการย้อนกลับมาดูการดำเนินธุรกิจของคุณ และค้นหาวิธีลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ควบคู่ไปกับการมองหาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ๆ เช่น การติดตั้งโซล่าเซลล์ การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการดำเนินธุรกิจ และเครื่องจักรการผลิตที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น ที่ไทยโอริกซ์เราสามารถช่วยคุณบริหารจัดการเงินทุนได้อย่างคุ้มค่าเพื่อเตรียมพร้อมในการเปลี่ยนแปลงนี้ ไทยโอริกซ์เราพร้อมให้บริการสินเชื่อลีสซิ่งสามารถติดต่อเราได้ที่เบอร์ 02-792-4500

WRITTEN BY

Chortip.O

แชร์บทความนี้
แชร์บทความนี้