ปัจจุบันราคาของแผงโซล่าร์เซลล์มีราคาถูกลงสวนทางกับค่าไฟฟ้าที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์ กลายมาเป็นทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ทั้งเรื่องการประหยัดเงิน และอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อมได้ในเวลาเดียวกัน

                เมื่อเรานึกถึงโซลาร์เซลล์ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการติดตั้งคือผู้รับเหมาที่เราเรียกว่า EPC (ซึ่งมาจาก Engineering, Procurement and Construction) EPC มีหน้าที่ในการติดตั้งอุปกรณ์โซล่าเซลล์และอำนวยความสะดวกพร้อมทั้งให้คำปรึกษาแบบครบวงจร และแม้ว่าประเทศไทยจะมี EPC มากมายแต่ไม่ได้หมายความว่าทุกบริษัทจะสามารถช่วยให้คุณได้รับผลประโยชน์สูงสุดตามที่คุณคาดหวัง

ดังนั้น EPC ที่ดีควรจะให้คำแนะนำคุณในเรื่องต่อไปนี้

1. ออกแบบขนาด(กำลังการผลิต)ของแผง Solar cell ให้เหมาะสมกับกำลังไฟฟ้าปัจจุบันของคุณ

ขนาดของแผง Solar cell ที่เหมาะสมกับพื้นที่ของคุณนั้นมีความสำคัญ หากมีขนาดเล็กเกินไปคุณอาจเสียโอกาสในการประหยัดค่าไฟได้อย่างเต็มที่ และหากใหญ่เกินไปก็ทำให้คุณผลิตพลังงานออกมาเกินความจำเป็น

เพื่อให้มั่นใจว่ามีการคำนวนขนาดของแผงได้อย่างเหมาะสม EPC จะทำการเปรียบเทียบค่าไฟย้อนหลัง 6-12 เดือนที่ผ่านมา (วัดเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางวัน เพราะ Solar cell สามารถทำงานได้ในเวลากลางวันที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น

2. สำรวจพื้นที่ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์

แม้ว่าเมืองไทยจะร้อนเกือบตลอดทั้งปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกที่จะเหมาะกับการติดตั้ง Solar cell ดังนั้น EPC ควรทำการสำรวจสถานที่ติดตั้งโซล่าร์เซลล์ของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าสถานที่ในการติดตั้งได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่เพียงพอต่อการผลิตไฟ โดยวัดเป็นหน่วย kWh ต่อ kWp

(kWh = กำลังไฟฟ้าที่คาดว่าจะผลิตได้ต่อวันในบริเวณนั้น / kWp = กำลังไฟฟ้าสูงสุดที่แผงโซล่าเซลล์ผลิตได้) หากความเข้มของแสงอาทิตย์ต่ำเกินไป โซลาร์เซลล์ก็ยังจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้แต่อาจจะไม่คุ้มค่าเท่าที่ควรยกตัวอย่างเช่น แผนภาพประเทศไทยด้านล่างแสดงให้เห็นว่าจังหวัดในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ส่วนใหญ่เหมาะสมกับ โซล่าร์เซลล์ที่มีค่าพลังงานตั้งแต่ 4 kWh/kWp ขึ้นไป ในขณะที่ภาคใต้และภาคเหนือ อาจมีแสงแดดไม่เพียงพอตลอดทั้งปี

Credit: https://www.worldbank.org/

นอกจากดูความเข้มของแสงอาทิตย์แล้ว ปัจจัยอื่นๆที่ EPC ควรพิจารณามีดังนี้

  1. มีพื้นที่เพียงพอสำหรับความจุแผงโซลาร์เซลล์ที่คุณต้องการ (โดยปกติแผงโซลาร์เซลล์จะติดตั้งบนหลังคา บนพื้นดิน หรือลอยอยู่ในสระน้ำ) ซึ่งรวมถึงพื้นที่เหลือสำหรับทางเดินเพื่อให้สามารถทำความสะอาดและบำรุงรักษาได้สะดวก
  2. หากติดตั้งบนหลังคา โครงสร้างหลังคาแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักแผงโซลาร์เซลล์ และสภาพของหลังคาดีพอที่จะอยู่ได้อีก 20 ปีข้างหน้าหรือไม่?
  3. ไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ (เช่น ต้นไม้ อาคารอื่นๆ) ที่บังแสงอาทิตย์ไม่ให้ส่องถึงแผงโซลาร์เซลล์

ด้วยปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ EPC จะช่วยพิจารณาและให้คำปรึกษาที่เหมาะสมกับคุณ

3. จัดหาอุปกรณ์ Solar cell ที่เหมาะสมกับคุณ

คุณควรระวังหาก EPC เสนอราคาที่ต่ำกว่าผู้รับเหมารายอื่น เพราะคุณอาจจะได้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานและคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์ คุณควรมองในระยะยาวและต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์โซลาร์เซลล์ทั้งหมดยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปอีก 20 ปีหรือมากกว่านั้น และเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับคุณภาพที่ดีที่สุด เราขอแนะนำให้ใช้แผงและส่วนประกอบจากผู้ผลิต Tier 1 จะดีที่สุด (หากเป็นไปได้)

ทำไมต้องเป็นผู้ผลิต Tier 1

  1. ใช้ซิลิกอนเกรดดีที่สุดในการผลิตโซลาร์เซลล์
  2. ใช้หุ่นยนต์ในการผลิตทำให้ควบคุมคุณภาพได้ดีขึ้น
  3. ส่วนประกอบทั้งหมดของโซลาร์เซลล์มาจากผู้ผลิตเองไม่มีการใช้ Supplier ที่อื่น
  4. มีฐานะทางการเงินของบริษัทที่มั่นคง

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ผลิต Tier 1 มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือมากกว่า และโดยทั่วไปจะมีการรับรองประสิทธิภาพในการผลิตตลอด 15-25 ปี หรือเกือบตลอดอายุการใช้งานเลยก็ว่าได้ และเพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้นคุณสามารถเช็คข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต Tier 1 เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ Bloomberg ในหัวข้อ New Energy Finance Tier 1 PV Module Maker List

4. ตรวจสอบสัญญาจ้าง EPC เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคุณ

ถึงแม้ว่า EPC จะดำเนินการตามข้อ 1-3 ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอย่างครบถ้วน แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าพวกเขาจะทำงานได้ดี เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่เสียผลประโยชน์กรณีที่ EPC ไม่สามารถทำได้จริงอย่างที่ตกลง สิ่งที่คุณควรเช็คมีดังนี้

4.1 ใบอนุญาตทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์จะถูกเตรียมจัดโดย EPC

4.1.1 เอกสารขออนุญาติก่อนการก่อสร้าง

  • -ใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร (อ.1)
  • -ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
  • -หนังสือรับรองการก่อสร้าง (อ.6)

4.1.2 ใบอนุญาตที่ออกโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อผลิตไฟฟ้า

(สำหรับโรงไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 1 เมกะวัตต์ขึ้นไป)

  • -ใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม (พ.ค..2)
  • -ใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า

*กรณีโรงไฟฟ้าขนาดต่ำกว่า 1 เมกะวัตต์ขึ้นไปไม่ต้องขอใบอนุญาต กกพ.

4.1.3 ใบอนุญาตประสานกริดที่ออกโดย กฟน./กฟภ.

ติดต่อการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ตรวจสอบเชื่อมระบบ เจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้าจะเข้ามาดำเนินการตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงข่ายไฟฟ้า

4.2 EPC ยินดีที่จะชดใช้ค่าเสียหาย (Loss Damage) ให้กับคุณ หากโซลาร์เซลล์ ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าตามที่สัญญาระบุไว้

4.2.1 ก่อนเริ่มโครงการ EPC ควรมีการรับประกันกำลังการผลิตไฟฟ้าขั้นต่ำของโซลาร์เซลล์ ในสัญญา

4.2.2 ก่อนดำเนินการใช้โซลาร์เซลล์ จะมีการทดสอบจำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงเทียบกับปริมาณที่คาดไว้

4.2.3 หากไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงต่ำกว่าที่คาดไว้ คุณควรได้รับส่วนลดจากต้นทุนทั้งหมดของโรงงานเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดไป

4.3 มาตรฐานการดำเนินงานและค่าบำรุงรักษาทั้งหมดต้องได้รับการกำหนดราคาชัดเจน ซึ่งต้องประกอบไปด้วยบริการเหล่านี้

4.3.1 สามารถตรวจสอบข้อมูลของแผงโซลาร์เซลล์ผ่านทางออนไลน์ได้ (Remote monitoring)

4.3.2 มีการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน คือต้องดูแลเครื่องจักรอุปกรณ์ตามเวลาที่กำหนดเอาไว้

4.3.3 ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนส่วนประกอบที่เสียหรือพังไป

4.3.4 มีการทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์

4.3.5 มีการบันทึกข้อมูลโรงงานผ่านสมุดบันทึกอิเล็กทรอนิกส์

แม้ว่าขั้นตอนการดำเนินงานทั้งหมดนี้จะมีความยุ่งยากและซับซ้อน แต่การเลือกผู้รับเหมา EPC ที่ดี จะเป็นก้าวแรกสำคัญที่จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด

นอกจากการบริการด้านเงินทุนแล้ว ไทยโอริกซ์เรายังมีความเชี่ยวชาญในด้านพลังงานทดแทน ด้วยประสบการณ์กำลังการผลิตติดตั้งรวม 3 กิกะวัตต์ (3 ล้านกิโลวัตต์) ทั่วโลก ทำให้เรากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ เราจึงพร้อมให้บริการด้านลีสซิ่งพร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผู้รับเหมา EPC ที่เหมาะสมกับคุณเพื่อให้คุณได้รับผลประโยชน์สูงสุด ด้วยเงื่อนไขการเช่าที่ดีที่สุดเช่นกัน

ไทยโอริกซ์เราพร้อมให้บริการสินเชื่อลีสซิ่ง ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนาน 40 กว่าปี ในประเทศไทยและยังเป็นเจ้าเดียวที่ให้บริการสินทรัพย์ลีสซิ่งที่หลากหลายและครบวงจรที่สุด สามารถติดต่อได้ที่ เบอร์ 02-792-4500

WRITTEN BY

Chortip.O

แชร์บทความนี้
แชร์บทความนี้